Powered By Blogger

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คาถาไก่เถื่อน

สวัสดีครับลูกศิษย์และท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผม อ.เอก ธนกร สำนักสักยันต์ปู่ฤาษี108  ได้นำบทความดีๆมาให้ท่านรู้จักวิชาอันโด่งดังในสมัยก่อนที่ได้ชื่อว่าดีทั้งเมตตามหาเสน่ห์และคงกระพันธ์ชาตี

คาถาไก่เถื่อน
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน)

สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถร ทรงมีประรามเดิมว่า สุก ประสูติเมื่อวันศุกร์ขึ้น 10 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 ตรงกับวันศุกร์ ที่ มกราคม พุทธศักราช 2276 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ พระองค์ทรงเป็นชาวกรุงเก่า ไม่ปรากฏพระนามบิดามารดา

เด็กชายสุกมาอยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์ของท่านตั้งแต่อายุ 12-13 จนล่วงเลยมาหลายปีอายุท่านก็จะย่างเข้า 20-21 ปี บิดา-มารดา ปละพระอาจารย์ของท่าน เห็นว่าท่านสมควรที่จะบรรพชา-อุปสมบทได้ อีกทั้งท่านต้องการที่จะอุปสมบท เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา

ครั้งนั้นท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดอรัญวาสีที่เป็นวัดหลวงแห่งหนึ่ง ในที่บางแห่งได้บันทึกไว้ว่าท่านอุปสมบทที่วัดโรงธรรม เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้นามทางพระพุทธศาสนาว่าญาณสังวโรภิกขุ อุปสมบทแล้วจึงกลับมาอยู่วัดเดิมกับพระอาจารย์ของท่าน โดยพระอาจารย์ของท่านเป็นพระกรรมวาจาจารย์

เมื่อถึงคราวออกธุดงค์ ท่านก็ได้ธุดงค์ไปกับอาจารย์ของท่านอีกเช่นเคย จนกระทั้งสิ้นบุญอาจารย์ท่าน ต่อมาท่านก็ได้ออกธุดงค์เดี่ยวด้วยจิตใจที่กล้าแข็งมุ่งมั่น บางครั้งไปพบอาจารย์ในระหว่างทาง ท่านก็ตามอาจารย์นั้นไปเรียนวิชาเพิ่มเติม ถ้าได้ข่างที่ไหนมีอาจารย์ดีๆ พระองค์ท่านก็จะดั้นด้นไปผากเรียนวิชา มีทั้งวิชากรรมฐาน วิชาสูญทกลา-จันทกลา วิธีเดินจิตรักษาตัวเอง รวมทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณ วิชาญาณโลกุตร 19 รวมทั้งวิชาทำธาตุ

บางครั้งพระองค์ท่านก็ไปจำพรรษาวัดต่างเมือง 1 ปี บ้าง 1 เดือนบ้าง จึงกลับมาวัดเดิม ในตำนานกล่าวไว้ว่าท่านเคยไปศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐานเพิ่มเติมที่ วัดกุฎีดาว อันเป็นวัดอรัญวาสีของกรุงศรีอยุธยา ท่านยังเคยได้ธุดงค์ไปประเทศราช เช่น ลาวเขมร โดยเฉพาะทางเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน อันเป็นเมืองประเทศราช และที่เมืองลำพูนนี้เองท่านได้พบของดีอย่างหนึ่งดังจะได้กล่าวต่อไป

รุกขมูลเมืองเหนือพบพระคาถาไก่เถื่อน

ในปีต่อมา เมื่ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ได้ไปธุดงค์อีกเช่นเคย ครั้งนี้ท่านต้องการไปทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ หัวเมืองฝ่ายเหนือนั้นบางคราวก็อยู่ในอำนาจของพม่า บางคราวก็อยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา ฉะนั้นบ้าน วัดในหัวเมืองเหนือจึงเต็มไปด้วยบ้านร้าง วัดร้าง เมืองเป็นป่า ป่าเป็นเมืองวัดเป็นป่า ป่าเป็นวัด พระที่ธุดงค์ไปทาเหนือ จะต้องมีวิชาแก่กล้าถึงจะไปไกลๆได้โดยไม่มีอันตราย

แต่ในครั้งนั้นหัวเมือง ผ่ายเหนือตกอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระอาจารย์สุกไป ครั้งนั้นไปปักกลดตามป่าบ้าง วัดร้างบ้าง วันหนึ่งท่านเดินมาที่วัดร้างในป่าแห่งหนึ่ง ณ เมืองลำพูน เมื่อมาถึงท่านก็ได้เดินสำรวจที่สำหรับปักกลดมาถึงที่แห่งหนึ่ง พบแผ่นหินแผ่นหนึ่งท่านจึงปักกลดที่ข้างแผ่นหินนั้น พอตกเวลากลางคืนเงียบสงัดท่านก็เข้าที่ภาวนา

เมื่อท่านภาวนาอยู่นั้น ท่านก็ได้เห็นนิมิตเป็นอักษรขอมโบราณ พอรุ่งเช้าท่านก็ออกบิณฑบาตกลับมาฉันเรียบร้อยแล้วท่านจึงรวบมุ้งกลด จึงใช้สมาธิมองไปที่แผ่นหินนั้น ท่านก็เห็นอักษรอยู่ใต้หินแผ่นหิน ท่านจึงหงายแผ่นหินขึ้นพบอักษรภาษาขอมเป็นคาถา 16 ตัว

ท่านจึงท่องจำพระคาถานั้นให้ขึ้นใจแล้วท่านจึงพัก ณ ที่นั้นอีกหนึ่งคืน กลางดึกคืนนั้นท่านก็นั่งเข้าที่ภาวนาพระคาถานั้น จึงทราบว่า คาถานี้ คือ คาถา "ไก่เถื่อน" รุ่งเช้าอีกวันฉันอาหารบิณฑบาตแล้ว ก็นั่งภาวนาอีก สักครู่ก็มีไก่ป่า จำนวนมากมารุมล้อมท่าน ท่านจึงรู้ว่าคาถานี่ดีทางด้านเมตตา และสามารถเรียกได้ต่างๆ พระคาถามีความดังนี้

เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว

ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา

สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา

กุตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

หลวงปู่สุกท่านถอนกลดเดินทางในป่านั้น เดินไปเรื่อยๆ จนใกล้ค่ำ จึงปักกลด ตกกลางคืนก็เข้าที่ภาวนา พอเช้าฉันบิณฑบาตแล้ว ตอนสายแก่ๆ ท่านก็ภาวนา พระคาถาไก่เถื่อนอีก คราวนี้มีไก่ป่ามามากมายหลายสายพันธุ์มารุมล้อมท่าน บางตัวก็ขึ้นไปยืนบนเข้าท่านทั้งสองข้าง ท่านจึงทราบว่า เป็นคาถาที่ทำให้ไก่ป่าเชื่องได้ ปละเป็นคาถาที่ใช้สร้างสมในทางเมตตาบารมี

ต่อมาเมื่อท่านไปปักกลดที่ไหนเพียงนึกถึงไก่ป่าเท่านั้น ยังมิได้ภาวนาพระคาถาไก่เถื่อน ก็มีไก่ป่ามารุมล้อมตัวท่านแล้ว นับได้ว่าท่านได้สำเร็จเมตตาบารมีไปอีกขั้นหนึ่ง แล้ว ไก่ป่านี้เป็นสัตว์ที่เชื่องคนยากมาก เมื่อเห็นคนหรือได้กลิ่นมนุษย์ ก็จะบินหนีหลบซ่อนทันที โดยที่คนไม่ทันได้เห็นตัวมัน

ดังจะยกตัวอย่างเกี่ยวกับไก่ป่า ในนิราศธารทองแดง ในพระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ กล่าวถึงไก่ป่าไว้ว่า

ไก่ป่าเจ้าเสียงเตี้ย
เห็นคนก่นวิ่งบิน
ไก่ป่าขันเจี่อยแจ้ว
ลูกเมียเขี่ยหากิน
เห็นคนก่นวิ่งบิน
ซอกซอนซ่อนตัวเร้น
พาลูกเมียเขี่ยหากิน
เข็นเร็นรอกซอกซอนหาย

กลางดิน
กกเหล้น
ถาบตื่น
พุ่มไม้สูญหาย

[size=3] ด้วยเหตุที่หลวงปู่สุก พระองค์ท่านอบรมบารมีมาในเมตตา และเมื่อพระองค์ท่านเป็นสมเด็จพระราชาคณะแล้ว พระคาถานี้จึงเรียกว่า พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ตั้งแต่นั้นมา ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น คาถาไก่เถื่อนนี้เป็นคาถาที่สร้างสม ในทางเมตตาบารมี

แต่มีที่มาที่กล่าวไว้ในหนังสือ พระประวัติและพระนิพนธ์ สมเด็จพระอริยวงศาญาณฯ สังฆราชสุก ไก่เถื่อน ญาณสังวร ของนายสุเชาวน์ พลอยชุม ได้เขียนไว้ว่า
"หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบได้ในขณะนี้ คือ จารึกที่ฐานพระพุทธรูป "พระเจ้าล้านทอง" ที่เมืองพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จารึกโดยพระติกขปัญญาเถระ ปละพระพลปัญญาเถระ เมื่อ พ.ศ. 2069 พระคาถานี้ในทางภาคเหนือเรียกกันว่า พระคาถาไก่แก้วกุกลูก และหลักฐานอื่นๆ เกี่ยวกับคาถาไก่เถื่อนนั้นมาในชั้นหลังของสมเด็จพระสังฆราชสุก เสียส่วนมาก"

เมื่อหลวงปู่สุกออกป่า และได้ประสบเหตุการณ์ต่างๆ ในป่าเขา ท่านก็ได้รอดพ้นมาด้วยพระคาถาไก่เถื่อนนี้ คนในสมัยนั้นเรียกพระคาถานี้ว่า เป็นพระคาถาที่เกิดจากอกหลวงปู่สุก หมายถึง เกิดจากการปฏิบัติธรรม ยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการใช้ และสรรพคุณ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนพระธรรมดังนี้

๑. พระคาถาไก่เถื่อนนี้ผู้ใดภาวนาได้ 3 เดือน ทุกๆวันอย่าได้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญาดังพระพุทธโฆษาจารย์
๒. แม้สวดเทศนาร้องหรือพูดจาสิ่งใดให้สวดเสีย สามที่ มีตบะเดชะนัก
๓. แม้สวดได้ถึงเจ็ดเดือนอาจสามารถรู้ใจคน
๔. ถ้าสวดได้ครบ 1 ปี มีตบะเดชะนัก ทรงธรรมรู้ยิ่งกว่าคนทั้งหลาย
๕. แม้จะเดินทางไกลให้สวด 8 ทีเป็นสวัสดีแก่คนทั้งหลาย

๖. ให้เสกหินเสกแร่ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายเข้าปล้นสะดมมิได้ ผีร้ายมิกล้าเข้ามาในเขตบ้าน คร้ามกลัวยิ่งนัก คนเดินไปถูกเข้าก็ล้มลงแล แพ้อำนาจแก่เรา
๗.ให้เขียนอักขระนี้ลงเป็นยันต์ประสาท ลงด้วยเงินก็ดี ทองก็ดี เอาพระคาถานี้เสก 3 คาบไปเทศนาดีนักเป็นเมตตาแก่คนทั้งหลายให้เขียนยันต์ประสาทนี้ไว้กันเรือน กันโจรภัย อันตรายทั้งหลาย

๘. เสกปูน ใส่บาดแผลและฝีดีนัก
๙. เสกน้ำมันงาใส่กระดูกหัก
๑๐. เสกเมล็ดข้าวปลูกงอกงามดีนัก
๑๑. เสกน้ำมนต์พรมของกำนัลไปให้ขุนนางท้าวพระยา รักเราแล
๑๒. เสกหมาก เมี่ยงทางเมตตา
๑๓. ต้องยาแฝด ต้องภัยอันตรายต่างๆก็ดี ให้เสกส้มป่อยหายสิ้นแล
๑๔. พระคาถานี้ผู้ใดทรงไว้มีปัญญามาก

ขอบคุณที่มา http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=18.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น